เปิดทำเนียบหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ลุ้นหัวหน้าพรรคคนที่ 9

ยังคงเป็นความเคลื่อนไหวทางการเมืองที่น่าจับตามอง สำหรับการเลือกหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ในวันนี้“พีพีทีวี” จะพาไปย้อนทำความรู้จักกับ 8 หัวหน้าพรรคว่ามีใครกันบ้าง?

“พรรคประชาธิปัตย์” เป็นพรรคการเมืองที่มีอายุยาวนานที่สุดในประเทศไทยและยังคงดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งถูกก่อตั้งขึ้นในปี 2489 โดยพันตรี ควง อภัยวงศ์ ปัจจุบันมีอายุ 77 ปี ตลอดระยะเวลาที่พรรคได้ดำเนินงานมาพรรคประชาธิปัตย์มีหัวหน้าพรรคทั้งสิ้น 8 คน และมี 4 คนที่ได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

จับตา! ประชาธิปัตย์เลือกหัวหน้าพรรครอบ 3 ล่ม – ไม่ล่ม

โพลชี้ “อภิสิทธิ์” เหมาะนั่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์

1. นายควง อภัยวงค์ หัวหน้าพรรคคนที่ 1 (พ.ศ.2489 – 15 มีนาคม 2511)

ผู้ก่อตั้ง พรรคประชาธิปัตย์ ร่วมกับ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช และ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช และนักการเมืองอื่นๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นฝ่ายค้านอำนาจรัฐบาลของนายปรีดี พนมยงค์ โดยนายควง อภัยวงศ์ ดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าพรรคคนแรก รวมไปถึงนายควงได้เป็นนายกรัฐมนตรีประเทศไทยถึง 4 สมัย และหลังพ้นตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในสมัยสุดท้ายยังคงนำพรรคประชาธิปัตย์ ทำหน้าที่เป็นฝ่ายค้านในสภาต่อไปในรัฐบาลหลายชุด ทั้ง รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม (สมัยสุดท้าย), รัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร

2. ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช หัวหน้าพรรคคนที่ 2 (พ.ศ.2511 – 26 พฤษภาคม 2522)

ผู้ร่วมก่อตั้ง พรรคประชาธิปัตย์ ร่วมกับนายควง อภัยวงศ์ ได้เป็นผู้ให้บัญญัติชื่อ “ประชาธิปัตย์ โดยมีความหมายว่า ผู้บำเพ็ญประชาธิปไตย” และยังเป็นรองหัวหน้าพรรคในต่อแรกที่ก่อตั้ง ก่อนจะเข้ารับตำแหน่งหัวหน้าพรรค ต่อจากนายควง อภัยวงศ์ ที่ถึงแก่อสัญกรรม ในปี พ.ศ. 2511 อีกทั้งยังได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีถึง 4 สมัย ม.ร.ว.เสนีย์ เป็นนักการเมืองที่เป็นสุภาพบุรุษ เล่นการเมืองด้วยความบริสุทธิ์ แต่ระหว่างนั้นมักประสบปัญหาความวุ่นวายในพรรค ทำให้ ไม่สามารถควบคุมพรรคได้ จึงได้ฉายาจากสื่อมวลชนว่า "ฤๅษีเลี้ยงลิง" หรือ "พระเจ้าตา" เพราะถูกมองว่าอ่อนแอ และไม่สามารถควบคุมบริหารพรรคและรัฐบาลได้ จนนำไปสู่การเกิดเหตุการณ์ 6 ตุลา

3. พ.อ.ถนัด คอมันตร์ หัวหน้าพรรคคนที่ 3 (26 พฤษภาคม 2522 – 3 เมษายน 2525)

ขึ้นมาเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ต่อจาก ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ได้ลาออกจากตำแหน่ง นายถนัดอยู่ในช่วงที่พรรคประชาธิปัตย์กระแสความนิยมตกต่ำอย่างมากที่สุด สมาชิกในพรรคมีความแตกแยก อีกทั้งในปี พ.ศ. 2522 นายถนัด เป็นเพียงคนเดียวที่ได้ตำแหน่ง ส.ส.กรุงเทพมหานคร จึงทำให้ต้องรับหน้าที่หนัก ที่จะต้องรับเป็นหัวหน้าพรรคเพื่อประคองพรรคต่อไปด้วย

4. นายพิชัย รัตตกุล หัวหน้าพรรคคนที่ 4 (3 เมษายน 2525 – 26 มกราคม 2534)

ได้รับตำแหน่งหัวหน้าพรรคหลังจากครบวาระของ พ.อ.ถนัด คอมันตร์ อยู่ในช่วงที่พรรคประชาธิปัตย์ร่วมเป็นพรรคร่วมรัฐบาลที่ให้การสนับสนุนการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ซึ่งนายพิชัยเองได้เป็นรองนายกรัฐมนตรี รวมไปถึงในรัฐบาล พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ อีกด้วย ทั้งยังอยู่ในช่วงที่มีเหตุการณ์แตกแยกกันในพรรค เมื่อ กลุ่ม 10 มกรา ที่นำโดยนายวีระ มุสิกพงศ์ ได้ลาออกจากพรรค และได้หลังจากวางมือทางการเมืองลงเนื่องจากมีอายุที่มากแล้ว จนทำให้ได้รับฉายา “คุณปู่” แต่นายพิชัยก็ยังมีตำแหน่งเป็นสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์อยู่

5. นายชวน หลีกภัย หัวหน้าพรรคคนที่ 5 (26 มกราคม 2534 – 6 พฤษภาคม 2546)

เข้ามารับตำแหน่งหัวหน้าพรรคในช่วงที่ประเทศไทยเกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ในตอนนั้นพรรคประชาธิปัตย์เลือกที่จะยืนหยัดเคียงข้างประชาชน ทำให้หลังจากเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป ในเดือนกันยายนปีพ.ศ. 2535 พรรคประชาธิปัตย์ได้ที่นั่งมากที่สุดในสภา ส่งผลทำให้นายชวนได้ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี อีกทั้งได้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีถึง 2 สมัยด้วยกัน และนายชวนยังเป็นผู้ที่มีบทบาทในการนำพรรคประชาธิปัตย์ร่วมบอยคอตการเลือกตั้งในเดือนกุมภาพันธ์ปีพ.ศ. 2549

6. นายบัญญัติ บรรทัดฐาน หัวหน้าพรรคคนที่ 6 (6 พฤษภาคม 2546 – 15 มีนาคม 2548)

มีบทบาทเป็นรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 ก่อนจะได้ขึ้นมาดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ต่อจากนายชวน หลีกภัย ได้หมดวาระไป และได้ลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคหลังจากที่ผลการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2548 พรรคประชาธิปัตย์ไม่ประสบความสำเร็จ โดยก่อนหน้านายบัญญัติ ได้พูดเอาไว้ว่า ถ้าพรรคประชาธิปัตย์แพ้การเลือกตั้งเขาจะลาออกจากตำแหน่งทันที โดยนายบัญญัติ ยังเป็นสมาชิกสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ และยังเคยถูกเสนอชื่อเป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร ในปี พ.ศ. 2562 และปี พ.ศ. 2566 ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป ได้เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ ของพรรคประชาธิปัตย์ ในลำดับที่ 3

7. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคคนที่ 7 (15 มีนาคม 2548 – 24 มีนาคม 2562)

หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ต่อจากนายบัญญัติ บรรทัดฐาน ก่อนที่ในปี พ.ศ. 2554 พ่ายแพ้การเลือกตั้งให้กับพรรคเพื่อไทยจึงได้ลาออกจากตำแหน่ง แต่ในเดือนสิงหาปีเดียวกันกลับขึ้นมาดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคอีกครั้ง โดยนายอภิสิทธิ์ถือเป็นหัวหน้าพรรคที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุดอันดับต้นๆ ของพรรคประชาธิปัตย์ และยังเป็น 1 ใน 4 ของหัวหน้าพรรคที่เคยรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

8. นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคคนที่ 8 ( 15 พฤษภาคม 2562– ปัจจุบัน)

ก้าวขึ้นมาเป็นหัวหน้าพรรค หลังจากที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ลาออกจากการเป็น ส.ส. เหตุจากพรรคประชาธิปัตย์ลงมติสนับสนุนการจัดตั้งรัฐบาลของพรรคพลังประชารัฐ โดยตอนที่เลือกตำแหน่งหัวหน้าพรรคคนใหม่ ได้มีผู้ลงชิงตำแหน่งถึง 4 คน คือ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์, นายพีระพันธ์ สารีรัฐวิภาค อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม, นายกรณ์ จาติกวนิช อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง, นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยนายจุรินทร์ได้คะแนนชนะไปมากกว่าครึ่งของผู้มีสิทธิ์โหวต ก่อนที่จะลาออกจากตำแหน่ง หลังพาพรรคประชาธิปัตย์พ่ายแพ้การเลือกตั้งสมาชิกผู้แทนราษฎรในปี พ.ศ. 2566คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

อย่างไรก็ตามสำหรับการเลือกหัวหน้าพรรคคนที่ 9 ในตอนนี้ ยังต้องรอลุ้นกันต่อไป ว่าจะสามารถเลือกหัวหน้าพรรคได้หรือไม่ หลังจากที่การประชุมเลือกหัวหน้าพรรคก่อนหน้านี้ ล่มมาแล้ว 2 ครั้ง และยังต้องลุ้นกันอีกว่า ใครจะก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำพรรคประชาธิปัตย์คนต่อไป

 เปิดทำเนียบหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ลุ้นหัวหน้าพรรคคนที่ 9