ย้อนอดีต “บาเลนเซียกา” ทำไมเคยถูกขนานนาม “ราชาในหมู่ราชา” –
เมื่อพูดถึงสินค้าแบรนด์เนมในหมวดหมู่แฟชั่น หลายคนอาจมีแบรนด์โปรดในใจที่แตกต่างกันออกไป แต่หากจะพูดถึงแบรนด์ที่เป็นตำนาน และปฏิวัติวงการแฟชั่นของทั้งโลก ต้องพูดถึง “บาเลนเซียกา” (Balenciaga) และผู้ก่อตั้ง “คริสโตบาล บาเลนเซียกา เอซาคุยเร”
ความโด่งดังของบาเลนเซียกานั้นทะลุปรอทถึงระดับที่ว่า แม้แต่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 อันดุเดือด มีลูกค้าที่ดั้นด้นฝ่าสนามรบมายังยุโรปเพื่อมาซื้อผลงานการออกแบบของคริสโตบาล
แต่เรื่องราวและเบื้องหลังความสำเร็จของบาเลนเซียกาคืออะไร และทำไมทุกคนพากันขนานนามคริสโตบาลว่า “ราชาในหมู่ราชาของวงการแฟชั่น”
อัจฉริยะในเมืองเล็ก ๆ
คริสโตบาลเกิดวันที่ 21 ม.ค. ปี 1895 ที่เมืองเกตาเรีย ในแคว้นบาสก์ของประเทศสเปน พ่อเป็นชาวประมง แม่เป็นช่างตัดเย็บ
พ่อของเขาเสียชีวิตตั้งแต่ยังเด็ก ทำให้คริสโตบาลใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่กับผู้เป็นแม่ และซึมซับฝีมือและประสบการณ์ในงานออกแบบและตัดเย็บเสื้อผ้า
และด้วยความอัจฉริยะส่วนตัวของเขา แม้ไม่ได้รับการถ่ายทอดความรู้อย่างเป็นกิจลักษณะ แต่ผลงานที่ออกมาก็โดดเด่นเหนือใคร เตะตาผู้ใหญ่หลายคน เรียกว่าเมืองบ้านเกิดคับแคบเกินไปสำหรับฝีมือของเขาก็คงไม่ผิด
จุดเปลี่ยนของคริสโตบาลเกิดขึ้นเมื่อตอนเป็นวัยรุ่น เขาได้รับโอกาสจาก มาร์เกซา เด คาซา ตอร์เรส ขุนนางหญิงที่มีตำแหน่งสูงสุดในเมือง เธอเป็นลูกค้าและเห็นแววในตัวเด็กชาย จึงให้การอุปถัมภ์และส่งเขาไปร่ำเรียนด้านการตัดเย็บอย่างจริงจังที่มาดริด
เมื่ออายุได้ 22 ปี หลังสำเร็จวิชา คริสโตบาลเปิด “โอต์กูตูร์” (Haute Couture) ร้านแรกของตัวเองที่เมืองซานเซบาสเตียนในปี 1917 ใช้ชื่อว่า “เอลิซา” ตามนามสกุลแม่
โอต์กูตูร์เป็นภาษาฝรั่งเศส เป็นร้านตัดเย็บเสื้อผ้าชั้นสูงที่ตัดเย็บด้วยกรรมวิธีซับซ้อน ประณีต และใช้ความสามารถสูงสุดของช่างหลายคนในการสร้างสรรค์เสื้อผ้าขึ้นมาสักชิ้น โดยช่างที่ตัดเย็บเสื้อผ้าประเภทนี้จะเรียกว่า กูตูริเยร์
ผลงานที่เป็นเอกลักษณ์ทำให้ชื่อเสียงขจรไปไกลในเวลาไม่นาน และสามารถเปิดสาขาในเมืองใหญ่อย่างมาดริดและบาร์เซโลนาได้ เสื้อผ้าที่เขาออกแบบและตัดเย็บเป็นที่เลื่องชื่อถึงขนาดว่าพระบรมวงศานุวงศ์ในราชวงศ์สเปนยังเป็นลูกค้าของร้าน
ราชาในมหานครแห่งแฟชั่นคำพูดจาก สล็อต168
คริสโตบาลใช้เวลาประมาณ 20 ปี ทำให้กิจการโอต์กูตูร์ของตนรุ่งเรืองอย่างมาก แต่ขณะกำลังไปได้ดี สเปนเกิดวิกฤตสงครามกลางเมือง ทำให้เขาต้องปิดร้านเพื่อหนีไฟสงคราม และไปตั้งหลักที่ประเทศฝรั่งเศสแทน
ปี 1937 เขาตั้งร้าน “บาเลนเซียกา” ที่ถนนจอร์จที่ 5 ของกรุงปารีส เมืองหลวงของวงการแฟชั่น ท่ามกลางคู่แข่งตัวฉกาจหลายเจ้าที่ดำเนินธุรกิจมาก่อนหน้า ทั้ง Coco Chanel, Elsa Schiaparelli หรือ Mainbocher
แต่ความสำเร็จเกิดขึ้นกับเขาแทบจะในทันที หลังจัดแฟชั่นโชว์ครั้งแรก เปิดตัวคอลเลกชันแรกของร้าน ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากยุคเรอเนซองส์ของสเปน และได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะชุด “อินแฟนตา” (Infanta) ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากเครื่องแต่งกายของเจ้าหญิงสเปนในภาพวาดของ ดิเอโก เวญาเกซ
คริสโตบาลและบาเลนเซียกากลายเป็นที่รู้จักอย่างรวดเร็วจนสื่อมวลชนฝรั่งเศสยกย่องให้เขาเป็น “ราชาแห่งแฟชั่น” และ “ผู้ปฏิวัติวงการแฟชั่น”
เขาเคยกล่าวเอาไว้ว่า
“กูตูริเยร์ต้องเป็นสถาปนิกด้านการออกแบบ ประติมากรด้านรูปทรง จิตรกรด้านสี นักดนตรีผู้สร้างความกลมกลืน และนักปรัชญาแห่งความใจเย็น”
แต่เปิดร้านได้เพียง 2 ปี คริสโตบาลเจอกับสงครามอีกครั้ง คราวนี้เป็นสงครามโลกครั้งที่ 2 และด้วยแสนยานุภาพของทัพนาซีเยอรมัน ทำให้สามารถยึดกรุงปารีสได้ในเวลาอันรวดเร็ว
อย่างไรก็ตาม คริสโตบาลมีความสัมพันธ์ค่อนข้างดีกับ ฟรานซิสโก ฟรังโก พันธมิตรของ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ เนื่องจากเคยตัดชุดในภรรยาของฟรังโก เขาจึงยังคงสามารถเปิดกิจการบาเลนเซียกาต่อไปได้โดยไม่ถูกปิด
แม้จะมีไฟสงคราม แต่ความนิยมของบาเลนเซียกาแทบไม่ลดลง และมีลูกค้าหลายคนที่ดั้นด้นเดินทางฝ่าสมรภูมิในยุโรปเพื่อมาเยือนร้านของคริสโตบาลให้ได้ โดยเฉพาะเพื่อครอบครองเสื้อคลุมทรงสี่เหลี่ยม (Square Coat) อันโด่งดังของเขา
หลังสงครามสิ้นสุด การออกแบบของบาเลนเซียกามีความคล่องตัวและเป็นเส้นตรงมากขึ้น พร้อมกับการถือกำเนิดของคู่แข่งที่น่ากลัวอย่าง คริสเตียน ดิออร์ (Christian Dior)
เสื้อผ้าที่คริสโตบาลออกแบบแตกต่างจากรูปทรงนาฬิกาทรายทรงโค้งยอดนิยมที่ดิออร์ใช้ บาเลนเซียกาชื่นชอบเส้นสายที่ลื่นไหลมากกว่า ขยายไหล่ และไม่มีการขับเน้นทรวดทรงองค์เอว
นั่นทำให้เขาเปลี่ยนวิธีออกแบบเสื้อผ้า และสร้างสรรค์ “ภาพลักษณ์” ของผู้หญิงขึ้นใหม่ เกิดเป็นผลงานโดดเด่นไม่เหมือนใครในหลายคอลเลกชัน เช่น แจ็กเก็ตทรงบอลลูน, ชุดเดรสเอวสูง Baby Doll, เสื้อคลุมโคคูน, กระโปรงทรงบอลลูน หรือเดรสทรงกระสอบ
ลูกค้าเก่าแก่รายหนึ่งให้ความเห็นว่า “ผู้หญิงไม่จำเป็นต้องสมบูรณ์แบบหรือสวยงามก็สวมเสื้อผ้าของเขาได้ เสื้อผ้าของเขาทำให้พวกเธอสวยงาม”คำพูดจาก คาสิโนออนไลน์
ความคิดสร้างสรรค์ ความแปลกใหม่ และความล้ำยุคในการออกแบบของคริสโตบาลนั้น แม้แต่ดิออร์ที่เป็นคู่แข่งยังชื่นชมว่า
โอต์กูตูร์เปรียบเสมือนวงออเคสตรา โดยมีบาเลนเซียกาเป็นวาทยกร พวกเรานักออกแบบเสื้อผ้าคนอื่น ๆ ต่างเป็นเพียงนักดนตรี คอยทำตามเส้นทางที่เขากรุยเอาไว้
สิ้นยุคสมัยคริสโตบาล แต่มรดกยังคงอยู่
หลังช่วงเวลากว่า 30 ปีของความสำเร็จอย่างท่วมท้นในกรุงปารีส จู่ ๆ คริสโตบาลตัดสินใจปิดร้านบาเลนเซียกาในปี 1968 ซึ่งเป็นการปิดอย่างกะทันหัน แม้แต่พนักงานในร้านยังไม่รู้ เขาให้เหตุผลว่า “แฟชั่นชั้นสูงกำลังถูกทำร้ายอย่างสาหัส” ซึ่งคาดว่าหมายถึงการลอกเลียนการออกแบบของแบรนด์ราคาถูกหลายเจ้า
นอกจากนี้ คาดว่าการจัดเก็บภาษีของฝรั่งเศสที่หนักหนาสาหัสส่งผลกระทบไปถึงผลกำไรส่วนใหญ่ของร้านด้วย รวมถึงช่วงนั้นเกิดกระแสการต่อต้านแฟชั่นชั้นสูงของฝรั่งเศสในสหรัฐฯ ซึ่งเป็นแหล่งลูกค้ารายใหญ่
ที่น่าเศร้ากว่านั้นคือ 23 มี.ค. 1972 หรือเพียง 4 ปีหลังปิดร้าน คริสโตบาลเสียชีวิตในวัย 77 ปี ทิ้งไว้เพียงชื่อเสียง ผลงาน และความคิดสร้างสรรค์ที่กลายเป็นแรงบันดาลใจให้กับบรรดาดีไซเนอร์และช่างตัดเย็บสืบต่อมา
การเสียชีวิตของเขาทำให้แฟน ๆ ที่ติดตามผลงานโศกเศร้ามาก แฟนคลับบางคน เช่น เคาน์เตส โมนา บิสมาร์ก ถึงกับขังตัวเองอยู่ในห้อง 3 วัน 3 คืนเพื่อไว้อาลัยต่อการจากไป
กระทั่งในปี 1986 บาเลนเซียกาฟื้นคืนชีกอีกครั้ง ฌาคส์ โบการ์ต (Jacques Bogart) บริษัทความงามชื่อดังของฝรั่งเศส ได้รับสิทธิ์แบรนด์ในตำนานมา และเปิดตัวไลน์เสื้อผ้าสำเร็จรูปใหม่ Le Dix
คอลเลกชันแรกได้รับการออกแบบโดย มิเชล โกมา เขาถูกแทนที่ในปี 1992 โดยดีไซเนอร์ชาวดัตช์ โจเซฟัส ทิมิสเตอร์ ผู้ซึ่งได้รับการยกย่องว่า “เริ่ม” ฟื้นฟูบาเลนเซียกากลับคืนมาได้ แต่นักออกแบบทั้งสองคนยังไม่สามารถประสบความสำเร็จได้เทียบเท่าคริสโตบาล
จนการมาถึงของ นิโคลัส เกส์ติแอร์ ผู้ซึ่งฟื้นคืนชีพแบรนด์บาเลนเซียกาได้สำเร็จในปี 1997 จากการแสดงแฟชั่นโชว์ ‘98 ที่เต็มไปผลงานสร้างสรรค์ซึ่งยังคงโดดเด่นมาจนถึงทุกวันนี้ ไม่ว่าจะเป็นชุดเดรส Patchwork ไปจนถึงกระเป๋า Motorcycle Lariat
จากนั้นในปี 2001 บริษัทสินค้าหรู เคอริง (Kering) ได้ซื้อแบรนด์แฟชั่นนี้ และทำให้บาเลนเซียกาค่อย ๆ กลับมาเป็นที่นิยม ทั้งภายใต้การนำของเกส์ติแอร์ จนถึง อเล็กซานเดอร์ หวัง และเฟื่องฟูถึงขีดสุดในยุคของ “เดมนา กวาซาเลีย” ตั้งแต่ปี 2015 เป็นต้นมา
เดมนาทำให้บาเลนเซียกาได้รับเลือกให้เป็น แบรนด์ที่เติบโตเร็วที่สุดของเคอริงในปี 2018 รวมถึงเป็นผู้นำโอต์กูตูร์กลับมาสู่แบรนด์อีกครั้ง ถือเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่สมัยของคริสโตบาล เรียกว่าเป็นการทำให้แบรนด์กลับมาสู่มรดกดั้งเดิม
รายได้ในปี 2023 ของเคอริงนั้น ภาพรวมอยู่ที่ 1.95 หมื่นล้านยูโร (ราว 7.67 แสนล้านบาท) มาจากกุชชี (Gucci) มากที่สุด คือ 51% ของรายได้
ส่วนบาเลนเซียกาและแบรนด์ย่อยทำรายได้ 3.5 พันล้านยูโร (ราว 1.37 แสนล้านบาท) คิดเป็น 18% ของรายได้ ตามมาด้วยอีฟแซงต์โลรองต์ (16%) และบอตเตกา เวเนตา (8%)
บริษัทเคอริงระบุในรายงานสรุปผลประกอบการประจำปี 2023 ว่า แนวโน้มของบาเลนเซียกาในอเมริกาเหนือและยุโรปตะวันตกดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และมีประสิทธิภาพที่แข็งแกร่งในเอเชียแปซิฟิก
เรียบเรียงจาก Glam Observer / HER / Kering / The Metropolitan Museum of Art / Women’s Wear Daily
ราคาทองวันนี้ (22 มี.ค.2567) ย่อตัวตามต่างประเทศ "ลง 100 บาท"
รู้จัก “จันทรุปราคา” รับปรากฏการณ์ “ราหูอมจันทร์” ครั้งแรกของปี 2567
ซน ฮึง-มิน ลั่นจะเล่นทีมชาติต่อเพื่อแฟนบอลเกาหลีใต้